บทที่ 4


บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
1.ความกตัญญู                                                                                                 
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
      เผอิญมีพระราชาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงนาม ท้าวจันทรเสน เสด็จออกยิงสัตว์ป่ากับพระราชบุตรจำเพาะสองพระองค์ กษัตริย์ทั้งสองทรงม้าไปตามแนวป่า เห็นรอยเท้าหญิงสองคนก็ทรงชักม้าหยุดดู พระราชบิดาตรัสว่า
                "รอยเท้าคนทำไมมีอยู่ในป่าแถบนี้" พระราชบุตรทูลว่า
                "รอยเท้าเหล่านี้เป็นรอยเท้าหญิงสองคน รอยเท้าชายคงจะโตกว่านี้" พระราชาตรัสว่า
                "เจ้าของรอยเท้าเหล่านี้เป็นหญิงจริงอย่างเจ้าว่า    แลน่าประหลาดที่มีหญิงมาเดินอยู่    ในป่า แต่ถ้าจะพูดตามเรื่องในหนังสือ หญิงที่พระราชาพบในป่ามักจะงามกว่าหญิงที่จะหาได้ในกรุงเหมือนดอกไม้ป่าที่งามกว่าดอกไม้ในสวน    มาเราจะตามนางทั้งสองนี้ไป   ถ้าพบนางงามจริงดังว่า      เจ้าจงเลือกเอาเป็นเมียคนหนึ่ง" พระราชบุตรทูลตอบว่า
                "รอยเท้านางทั้งสองนี้มีขนาดไม่เท่ากัน แม้เท้ามีขนาดย่อมทั้งสองนางก็ยังก็ยังใหญ่กว่ากันอยู่คนหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเลือกนางเท้าเล็กเป็นภริยาข้าพเจ้า เพราะคงจะเป็นสาวน้อยตามขนาดแห่งเท้า ส่วนนางเท้าเขื่องนั้นคงจะเป็นสาวใหญ่ ขอพระองค์จงรับไว้เป็นราชชายา" ท้าวจันทรเสนตรัสว่า
                "เหตุไฉนเจ้าจึงกล่าวดังนี้   พระราชมารดาของเจ้าสิ้นพระชนม์ไปไม่กี่วัน  เจ้าจะอยาก    มีแม่เลี้ยงเร็วเท่านี้เชียวหรือ" พระราชบุตรทูลตอบว่า
                 "ขอพระองค์อย่ารับสั่งเช่นนั้น  เพราะบ้านของผู้เป็นใหญ่ในครอบครัวนั้น   ถ้าไม่มีแม่เรือนก็เป็นบ้านที่ว่าง อนึ่งพระองค์ย่อมจะทรงทราบคาถาซึ่งมูลเทวะบัณฑิตแต่งไว้ มีความว่า 'ชายผู้ไม่ใช่คนโง่ไม่ยอมคืนสู่เรือนซึ่งไม่มีนางที่รักผู้มีรูปงามคอยรับรองในขณะที่กลับถึงเรือนนั้น แม้เรียกว่าเรือนก็ไม่ใช่ อื่น คือคุกซึ่งไม่มีโซ่เท่านั้นเอง' พระองค์ย่อมทรงทราบได้ด้วยพระองค์เองว่า  ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่โดดเดี่ยวนั้นมีไม่ได้ในบ้าน   แลมีไม่ได้นอกบ้าน   เพราะไม่มีหวังว่าจะได้ความสุข   เมื่อกลับมาสู่เรือนแห่งตน"
                ท้าวจันทรเสนทรงนิ่งตรองอยู่ครู่หนึ่ง แล้วตรัสตอบพระราชบุตรว่า
                "ถ้านางเท้าเขื่องมีลักษณะเป็นที่พึงใจ ข้าก็จะทำตามคำเจ้าว่า"

เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นมีการแสดงความกตัญญูของพระราชบุตรต่อผู้เป็นพระราชบิดา คือ พระราชบุตรทรงอยากให้ผู้เป็นพ่อมีความสุขแม้พระองค์จะยังเสียพระทัยที่พระราชมารดาสิ้นพระชนม์ จึงอยากให้พระราชบิดามีชายาโดยเร็ว   เพราะพระราชบิดาจะได้ไม่ต้องทรงเสียพระทัย
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                            นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา : ความเป็นผู้รู้คุณและตอบแทน คือเครื่องหมายของคนดี

2. ความซื่อสัตย์
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ 
           เมื่อท้าวมหาพลจะสิ้นบุญนั้น เกิดศึกขึ้นที่กรุงธรรมปุระ ข้าศึกมีกำลังมากแลชำนาญการศึก ใช้ทั้งทองคำแลเหล็กเป็นอาวุธ คือใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหารแลไพร่พลของพระราชาให้เอาใจออกห่างจากพระองค์ แลใช้เหล็กเป็นอาวุธฆ่าฟันคนที่ซื้อน้ำใจไม่ได้ ข้าศึกใช้ทองคำบ้าง เหล็กบ้างเป็นอาวุธดังนี้ จนในที่สุดรี้พลของท้าวมหาพลหรอร่อยย่อยยับไป
          เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นแสดงถึงความซื่อสัตย์ของทหารและไพรพลบางส่วนของพระราชาที่มีต่อแผ่นดิน ต่อพระราชาผู้ครองแผ่นดิน คือยอมถูกฆ่าตายเพื่อแผ่นดิน ไม่ยอมเปลี่ยนฝั่งไปอยู่กับข้าศึก และแสดงถึงความไม่ซื่อสัตว์ของทหารและไพร่พล คือ เห็นคุณค่าของเงินทอง คุณค่าของชีวิตตนเองสำคัญกว่าแผ่นดินและพระราชา ซึ่งผู้คนย่อมสรรเสริญทหารและไพร่พลที่มีความซื่อสัตย์มากกว่าทหารและไพร่พลที่ข้าศึกซื้อด้วยเงินทอง
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                    สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ : ความซื่อสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย 

3. ความพอเพียง
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
พระราชานำนางทั้งสองเดินไปจนเวลาสาย ถึงท้องทุ่งเห็นหมู่บ้านหมู่หนึ่งแต่ไกล ไม่ทรงทราบว่าเป็นหมู่บ้านโจร แต่ทรงสงสัยไม่วางพระหฤทัยจึงตรัสให้พระมเหสี แลพระราชธิดาหยุดนั่งกำบังอยู่ในแนวไม้ พระองค์ทรงถืออาวุธเดินตรงเข้าไปสู่หมู่บ้านเพื่อจะหาอาหารเสวยแลสู่นางทั้งสององค์
          ฝ่ายพวก ภิลล์ ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้นประพฤติตัวเป็นโจรอยู่โดยปกติ ครั้นเห็นชายคนเดียวแต่งตัวด้วยของมีค่าเดินเข้าไปเช่นนั้น ก็คุมกันออกมาจะเข้าชิงทรัพย์ในพระองค์พระราชา ท้าวมหาพลทรงเห็นดังนั้นก็ทรงพระแสงธนูยิงพวกโจรล้มตายเป็นอันมาก ฝ่ายนายโจรได้ทราบว่าผู้มีทรัพย์มาฆ่าฟันพวกตนลงไปเป็นอันมากดังนั้นก็กระทำสัญญาณเรียกพลโจรออกมาทั้งหมดแล้วเข้าล้อมรบพระราชา ท้าวมหาพลองค์เดียวเหลือกำลังจะต่อสู้ป้องกันอาวุธพวกโจรได้ ก็สิ้นพระชนม์ลงในที่นั้น พวกภิลล์ก็ช่วยกันปลดเปลื้องของมีค่าออกจากพระองค์ แล้วพากันคืนเข้าสู่บ้านแห่งตน
เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นแสดงถึงความไม่พอเพียงของพวกภิลล์ ซึ่งไม่มีความรู้จักพอ ไม่พอใจในสิ่งที่มี คอยเป็นโจรปล้นชิงทรัพย์ผู้อื่นเพื่อความสุขของตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อน และไม่เกรงกลัวต่อบาปจากการฆ่าผู้อื่น ย่อมเป็นผู้ที่มีบาปติดตัวไปในภายภาคหน้า
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                      มธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ : ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น 
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                              ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ  ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ : ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม

4. ความมีวินัย
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
  เวตาลเล่ามาเพียงนี้ก็หยุดอยู่ครู่หนึ่ง    แล้วกล่าวต่อไปว่าบัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพล แลลูกมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้นจะนับญาติกันอย่างไร    พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาเวตาลก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องพ่อกับลูก แม่กับลูก แลพี่กับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมีเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัวแลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า  พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอทรงนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งให้แก่โยคีนั้น จะสำเร็จได้ก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา  จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  แลรีบสาวก้าวทรงดำเนินเร็วขึ้น ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่จะรับสั่งอะไรไม่ได้ก็ทรงกระแอม เวตาลทูลถามว่า
                "รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ"
                พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
                "บางทีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง" ครั้งนี้แม้แต่กระแอมพระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึงกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
                "เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้แล้ว บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง"
                แต่พระธรรมธวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว
      
            เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นแสดงถึงความมีวินัย เพราะพระวิกรมาทิตย์ได้เสด็จไปจับตัวเวตาลหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเวตาลก็ใช้อุบายหลอกให้พระวิกรมาทิตย์ตอบคำถามจนหนีกลับมาได้ทุกครั้ง ซึ่งพระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ได้ย่นย่อหรือย่อหย่อนต่อความเพียรความมีวินัยที่จะจับตัวเวตาลไปให้ส่งให้โยคี จนมาถึงการเล่านิทานเรื่องสุดท้ายของเวตาล ซึ่งเวตาลก็ใช้อุบายเดิม เพียงแต่ครั้งนี้พระวิกรมาทิตย์ทรงนิ่งไม่ยอมตอบคำถามของเวตาล แม้เวตาลจะพูดยั่วยุเพียงใดก็ตามแต่พระวิกรมาทิตย์ก็ทรงอดทนไม่สนใจกับคำพูดของเวตาลเพราะคิดเพียงว่าต้องจับตัวเวตาลไปให้ได้ จนในที่สุดเวตาลก็ยอมจึงสามารถจับตัวเวตาลไปได้
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                 ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร : ความอดทน เป็นเครื่องประดับ ของนักปราชญ์
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                           วินโย จ สุสิกฺขิโต เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ  : วินัยที่ศึกษาดีแล้ว เป็นมงคลอย่างสูงสุด                                                 











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น